เมนู

อรรถกถาอัฏฐสตปริยายวรรคที่ 3



อรรถกถาสิวกสูตรที่ 1



พึงทราบวินิจฉัยในสิวกสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 3 ดังต่อไปนี้
บทว่า สิวโก ในบทว่า โมฬิยสิวโก เป็นชื่อของปริพาชกนั้น. ก็
จุกของปริพาชกนั้นมีอยู่ เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า สิวกปริพาชกมีจุก.
บทว่า ปริพฺพาชโก ได้แก่ ปริพาชกผู้นุ่งผ้า บทว่า ปิตฺตสมุฏฺฐานานิ
ได้แก่ มีดีเป็นปัจจัย. บทว่า เวทยิตานิ คือเวทนา. เวทนา 3 ย่อมเกิด
ขึ้นในบุคคลนั้นเพราะดีเป็นปัจจัย. ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า ฝ่ายบุคคล
บางคนคิดว่า ดีของเรากำเริบแล้ว ก็แล ชีวิตรู้ได้ยาก ย่อมให้ทาน
สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม. กุศลเวทนา ย่อมเกิดขึ้นแก่บางคนนั้น
ด้วยอาการอย่างนี้. ส่วนบางคนคิดว่า เราจักทำเภสัชแก้ดี ย่อมฆ่าสัตว์
ลักทรัพย์ พูดเท็จ ย่อมทำทุสีลกรรม 10 ก็มี. อกุศลเวทนา ย่อมเกิดขึ้น
แก่บางคนนั้น ด้วยอาการอย่างนี้. แต่บางคนมีตนเป็นกลางว่า ดีของเรา
ย่อมไม่สงบด้วยการทำยา แม้ประมาณเท่านี้ เรื่องยานั้นพอกันที ย่อม
นอนอดกลั้นซึ่งเวทนาทางกาย. อัพยากตเวทนา ย่อมเกิดขึ้นแก่บางคนนั้น
ด้วยอาการอย่างนี้.
บทว่า สามํปิ โข เอตํ ความว่า บุคคลเห็นวิการแห่งดีนั้น ๆ แล้ว
ก็พึงทราบเวทนานั้นได้ด้วยตน. บทว่า สจฺจสมฺมตํ คือสมมติว่าเป็นจริง
ฝ่ายชาวโลกเห็นวิการแห่งดีมีวรรณะต่างพร้อมเป็นต้นที่สรีระของเขาแล้ว
ย่อมรู้ว่า ดีของเขากำเริบ. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะแล่นไปสู่สิ่งที่รู้ด้วย

ตนเอง และแล่นไปสู่สิ่งที่สมมติกันว่า เป็นจริงของโลก. แม้ในบทมีเสมหะ
เป็นสมุฏฐานเป็นอาทิ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนบทว่า สนฺนิปาติกานิ
ในบทว่า สนฺนิปาตสมุฏฺฐานานิปิ นี้ เกิดขึ้นแล้ว เพราะการกำเริบแห่งดี
เป็นต้น แม้ทั้งสาม. บทว่า อุตุปริณามชานิ คือเกิดแต่ฤดูเปลี่ยน
ย่อมเกิดขึ้นแก่ชาวชังคลเทศ เมื่ออยู่ในอนุประเทศ. ความเปลี่ยนฤดู
ย่อมเกิดขึ้น ด้วยสามารถมีฝั่งมณีสมุทรเป็นต้นอย่างนี้ว่า เมื่อชาวอนุ
ประเทศอยู่ในชังคลเทศ. บทว่า ตโต ชาตา ได้แก่ เกิดแต่เปลี่ยนฤดู.
บทว่า วิสมปริหารชานิ ความว่า เกิดแต่การรักษาตัวไม่สม่ำเสมอ
ในการรับภาระหนัก โดยมีการทุบเป็นต้น. หรือเมื่อเที่ยวไปผิดเวลา โดย
มีการถูกงูกัด และตกบ่อเป็นต้น. บทว่า โอปกฺกมิภานิ ความว่า เกิดขึ้น
เพราะถือว่า ผู้นี้เป็นโจร หรือเป็นทาริกาของผู้อื่น แล้วจึงทำร้ายด้วยการ
เอาเข่า ศอกและไม้ค้อนเป็นต้น โบยให้เป็นปัจจัย. บางคน ถูกทำร้าย
ในภายนอกนั้นแล้ว ย่อมทำกุศล โดยนัยอันกล่าวแล้วแล. บางคนทำ
อกุศล. บางคนย่อมนอนอดกลั้นอยู่. บทว่า กมฺมวิปากชาตานิ คือเกิด
แต่ผลของกรรมอย่างเดียว. ก็เมื่อกรรมวิบากเหล่านั้น เกิดขึ้นแล้ว บางคน
ย่อมทำกุศล บางคนย่อมทำอกุศล บางคนย่อมนอนอดกลั้นอยู่. ก็เวทนา
3 อย่าง ย่อมมีในวาระทั้งปวงอย่างนี้.
ในเวทนาเหล่านั้น เวทนาอันเป็นไปในสรีระซึ่งเกิดขึ้นด้วยเหตุ 7
อย่างข้างต้น ใคร ๆ ก็อาจเพื่อจะห้ามได้ แต่เภสัชทั้งปวงก็ดี เครื่องป้องกัน
ก็ดี ก็ไม่สามารถเพื่อกำจัดเวทนาอันเกิดแต่ผลของกรรมได้เลย. ชื่อว่าโลก
โวหาร พระองค์ได้ตรัสแล้ว ในพระสูตรนี้.
จบอรรถกถาสิวกสูตรที่ 1

2. อักฐสตปริยายสูตร



ว่าด้วยพระพุทธองค์ทรงแสดงประแห่งเวทนา



[430] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายอันมีปริยาย
ต่างๆ 108 แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมปริยายนั้น ก็ธรรม
ปริยายอันมีปริยาย 108 เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยปริยายหนึ่ง
เรากล่าวเวทนา 2 ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา 3 ก็มี โดย
ปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา 18 ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา
36 มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา 108 ก็มี.
[431] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนา 2 เป็นไฉน. เวทนา 2
คือ เวทนาทางกาย 1 เวทนาทางใจ เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา 2.
[432] ก็เวทนา 3 เป็นไฉน. เวทนา 3 คือ สุขเวทนา.
ทุกขเวทนา 1 อทุกขมสุขเวทนา 1 เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา 3.
[433] ก็เวทนา 5 เป็นไฉน. เวทนา 5 คือ สุขินทรีย์ 1
ทุกขินทรีย์ 1 โสมนัสสินทรีย์ 1 โทมนัสสินทรีย์ 1 อุเบกขินทรีย์ 1
เหล่านี้ เราเรียกว่า เวทนา 5.
[434] ก็เวทนา 6 เป็นไฉน. เวทนา 6 คือ จักขุสัมผัสสชา
เวทนา 1 โสตสัมผัสสชาเวทนา 1 ฆานสัมผัสสชาเวทนา 1 ชิวหาสัม-
ผัสสชาเวทนา 1 กายสัมผัสสชาเวทนา 1 มโนสัมผัสสชาเวทนา 1 เหล่านี้
เราเรียกว่า เวทนา 6.